Beaming girl face graphic

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ (พัฒราวดี ทัดเทียม)

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ (พัฒราวดี ทัดเทียม)

หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพ ถือได้ว่าเป็นสื่อที่ดึงดูดความสนใจและสามารถสื่อความหมายของเรื่องราวส่งเสริมความเข้าใจและจินตนาการของเด็กได้เป็นอย่างดี

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานและบัตรภาพ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพระหว่างก่อนและหลังจัดประสบการณ์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาดู่ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย

ดำเนินการทดลอง โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบ One-Group Pre - test Post - test Design
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม บัตรภาพ จำนวน 7 ภาพ หนังสือนิทานภาพ 7 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 

ผลการวิจัย
1.หนังสือนิทานและบัตรภาพเพื่่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/93.50
2.ทักษะทางคณิตศาสตร์ของชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานภาพและบัตรภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

**เพิ่มเติม** สื่อการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย นาฬกาบอกเวลา


อุปกรณ์
     1.ไม้กระดาน (อาจใช้กระดาษหลังรูปแทนได้)
     2.เลื่อย คัตเตอร์ กรรไกร
     3.สีสเปย์
     4.กระดาษทราย
     5.กระดาษวาดรูป
     6.สีไม้
     7.สติกเกอร์สำหรับเคลือบ
     8.แล็กเกอร์
     9.น็อต
 วิธีทำ
     1.ออกแบบสื่อการสอนที่ต้องการโดยวาดแบบเป็นวงกลม2วง วงหนึ่งนั้นให้เป็นฐานและอีกหนึ่งวงให้เป็นตัวเรือนนาฬิกา โดยในส่วนที่จะทำเป็นตัวเลขให้เจาะเป็นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม จากนั้นให้ใช้เลื่อยฉลุเลื่อยออกมา และขัดด้วยกระดาษทราย และเลื่อยไม้ออกมา2ชิ้นเพื่อทำเป็นเข็มนาฬิกา
     2.พ่นสีรองพื้นด้วยสีขาวเนื่องจากไม้มีสีน้ำตาลหากพ่นสีลงไปอาจทำให้สีเพี้ยนได้ เมื่อสีขาวแห้งให้ลงสีพื้น โดยให้ลงสีที่ต้องการประมาน2รอบเพื่อให้สีเนียน จากนั้นเมื่อสีที่ต้องการแห้ง ให้ลงแล็กเกอร์เคลือบอีก 2 รอบ เพื่อความเงางามและคงทน
     3.นำแผ่นไม้ เข็มนาฬิกา มาประกอบกันเป็นตัวนาฬิกา
     4.วาดภาพกิจวัตรประจำวันที่เด็กต้องทำและระบายสีให้สวยงาม จากนั้นให้ให้นำไปติดกับกระดาษหลังรูปเพื่อความแข็งแรง และเคลือบด้วยสติกเกอร์เพื่อความคงทน
วิธีการเล่น
     ในชุดการเล่นตัวเลขบอกเวลาสามารถถอดออกมาได้  โดยให้เด็กนำกลับไปเรียงใส่ในช่องให้ถูกต้อง  และให้เด็กๆช่วยกันสังเกตภาพกิจวัตรประจำวัน  และให้ดูเวลา จากนั้นให้เด็ๆนำภาพไปใส่ในช่องว่างที่ และใส่ภาพว่าเวลานี้เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
ประโยชน์ที่ได้รับ
     1.เด็กได้รู้จักเวลา และกิจวัตรประจำวัน
     2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง
     3.ฝึกความคิดและการกล้าตัดสินใจ

**เพิ่มเติม** คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

งานกลุ่ม การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ หน่วย มะพร้าว



วันจันทร์ ชนิดของมะพร้าว



วันอังคาร  ลักษณะของมะพร้าว



วันพุธ ประโยชน์ของมะพร้าว




 วันศุกร์ ประกอบอาหาร(น้ำมะพร้าว)


วันศุกร์ อาชีพ



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันนี้จบการเรียนการในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะสาธิตการสอนอาจารย์ได้เปิดสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาให้ได้ดู ซึ่งมีดังนี้


Mind Mapping หน่วยที่เรียน


ตารางเปรียบเทียบลักษณะ


 สื่อที่ทำจากแกนทิชชู่ สอนในเรื่องของรูปทรง


ภาพศิลปะที่เด็กวาด สอนในเรื่องของจำนวน

หลังจากที่อาจารย์ได้ให้ดูเสร็จแล้วก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อ โดยกลุ่มที่ออกมาต่อไป คือ หน่วย ข้าว




กลุ่มต่อไปคือ หน่วย สับปะรด



หลังจากจบการสาธิตการสอนอาจารย์ได้บอกกลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสาธิตว่า เวลาที่จะนำเสนอนั้นไม่เพียงพอจึงให้เขียนแผนจัดประสบการณ์ให้ละเอียดเหมือนออกมาสาธิตการสอนจริงๆ ส่งในสัปดาห์หน้าในวันพุธ พร้อมสอบ เวลา 15.00 น.ในวันเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

วันนี้อาจารย์ได้ให้ส่งงาน Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์


 หลังจากส่งงานแล้ว อาจารย์ได้ให้ออกมาสาธิตการสอน ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกมา คือ หน่วย ผลไม้ ประกอบด้วย

วันที่ จันทร์ ชนิดของผลไม้


วันอังคาร ลักษณะของผลไม้ ซึ่งยกมา 2 ชนิด คือ ส้ม กับ สับปะรด



วันพุธ ประโยชน์ของผลไม้ ซึ่งเล่าเป็นนิทาน



วันพฤหัสบดี การถนอมอาหาร



วันศุกร์ การขยายพันธุ์ ไม่ได้นำเสนอให้เห็น เนื่องจากยังเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะจะนำมาสอนเด็ก

หลังจากจบการนำเสนออาจารย์ได้สรุปและให้ข้อแนะนำกับกลุ่มที่จะออกมาสาธิตครั้งต่อไป

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันนี้ไม่มีการเรียนสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย 
ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์หน้า
ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบสอนตามหน่วยที่กำหนดขึ้นมาเองในกลุ่ม โดยออกมาสอน 5 คน คนละวัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 10-20 ต่อคน
หน่วยของกลุ่มข้าพเจ้า คือ มะพร้าว