Beaming girl face graphic

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ เนื่องจากเป็นช่วงหยุดวันปีใหม่ 2556 

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ เนื่องจากมีการสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 20 - 26 ธันวาคม พ.ศ.2555


วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหา ดังนี้

คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการคิด การคำนวณ โดยใช้หลักความเป็นเหตุเป็นผล

เกณฑ์หรือมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์มาตราฐาน สสวท.เป็นผู้
กำหนด มีดังนี้

















และหลังจบการเรียนการสอนอาจารย์ได้มอบหมายงาน ต่อไปนี้

งานที่ได้รับมอบหมาย

ในคาบเรียนต่อไปให้นำกระดาษลังที่ตัดเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4,6 และ 8 นิ้ว (อย่างละแผ่น)

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันนี้ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้ส่งงานที่สั่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้เข้าสู่การเรียนการสอน ในเรื่องที่สอนยังคงเป็นในเรื่องของขอบข่ายของคณิตศาสตร์ทั้ง 12 ข้อ โดยยกตัวอย่างกับกล่องที่เตรียมมา ว่าจะนำมาใช้จัดประสบการณ์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างครบทั้ง 12 ข้อแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เริ่มกิจกรรมดังนี้
ให้จับกลุ่ม 11 คนแล้วนำกล่องที่เตรียมมาของทุกคนในกลุ่มมาต่อกันให้เป็นรูปตามความคิดของแต่ละคนในกลุ่ม โดยที่มีข้อบังคับว่า 
- กลุ่มแรก วางแผน ปรึกษา พูดได้ 
- กลุ่มสอง วางแผน แต่พูดไม่ได้
- กลุ่มสาม วางแผน พูดได้ แต่ต้องติดทีละคน
หลังจากทุกกลุ่มสร้างผลงานเสร็จแล้ว ก็ได้นำผลงานมาส่งหน้าห้อง
อาจารย์ได้พูดถึงการนำวัสดุรอบตัวมาใช้กับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สุงสุด แล้วอาจารย์ก็ได้เริ่มดูผลงานแต่ละชิ้น โดยผลงานแต่ละกลุ่มมีชื่อ ดังนี้ 
- กลุ่มแรก หุ่นยนต์
- กลุ่มสอง สถานนีรถไฟบางรัก
- กลุ่มสาม บ้านหลากสี
และอาจารย์ก็ได้ถามแต่ละกลุ่มว่ามีวิธีการอย่างไรในการสร้างสรรค์ผลงานโดยที่มีข้อบังคับในการทำ หลังจากนี้อาจารย์ได้พูดเพิ่มเติมเกี่ยวกับของเหลือใช้ โดยให้นักศึกษาบอกว่ามีอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ได้คิดงานประดิษฐ์พร้อมให้แต่ละกลุ่มช่วยกันไปทำ 
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์งานที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่มอบหมาย ดังนี้
- กลุ่มแรก ประดิษฐ์ที่ร้อยจำนวน
- กลุ่มสอง ประดิษฐ์ปฏิทิน
- กลุ่มสาม ประดิษฐ์ที่วัดแบบกราฟ
2.ให้เขียนชื่อเรื่องงานวิจัยที่หามา โดยที่งานวิจัยนั้นๆต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

วันนี้ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการร่วยถวายพระพรในวันที่ 3-4 ธันวาคม 2555 โดยในวันที่ 3 ไปร่วมลงนามถวายพระพรและในวันที่ 4 ให้เตรียมเสื้อสีเหลืองมาใส่เพื่อร้องเพลงและเต้นแอโรบิค หลังจากนั้นอาจารย์ได้เริ่มเข้าบทเรียน โดยอาจารย์ได้สอนต่อยอดจากอาทิตย์ที่ผ่านมาในเรื่องของ ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ อาจารย์ได้ยกตัวอย่างของผู้ให้ความหมายในเรื่องนี้มา 2 คน ดังนี้

1.(นิตยา   ประพฤติกิจ 2541 17-19) 


















2.(เยาวพา  เดชะคุปต์ 2542 87-88)


















อาจารย์ได้สอนเพิ่มเติมในการนำเอาขอบข่ายของคณิตศาสตร์ 12 ข้อมาจัดเป็นแผนประสบการณ์โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างในเรื่อง ผลไม้ หลังจบการเรียนการสอนอาจารย์ไดสั่งงาน ดังนี้
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ให้นักศึกษาเลือกเรื่องอะไรก็ได้มา 1 เรื่อง แล้วนำเรื่องที่เลือก มาเขียนเป็นแผนจัดประสบการณ์โดยที่เชื่อมโยงกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ทั้ง 12 ข้อ
2.นำกล่องที่มีรูปทรงอะไรก็ได้ มาคนละ 1 กล่อง




วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจาก มีการแข่งขันกีฬาศึกษาศาสตร์สัมพันธ์ จันทราต้านยาเสพติด ประจำปีการศึกษา 2555
ระหว่างวันที่ 19 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3

วันนี้อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 3 คน เพื่อนำงานที่แต่ละคนหามาได้นั้น มาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยเขียนสรุปลงในกระดาษที่แจกให้ ซึ่งกลุ่มของดิฉันสรุปได้ดังนี้
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์จัดเป็นภาษาอย่างหนึ่ง ที่กำหนดขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ที่รัดกุมพร้อมสื่ความหมายได้ถูกต้องและยังทำให้เรารู้จักแก้ปัญหาเป็น มีเหตุผล ในการทำสิ่งต่างๆ
อ้างอิงจาก : Keith Greg son , Max Blake และยุพิน พิพิธกุล

2.จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
- เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาในการคำนวณ สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพจึงต้องให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้
   1.) มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และการคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
   2.) รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
   3.) มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
   4.) สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
อ้างอิงจาก : พร้อมพรรณ อุดมสิน(2533). การจัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
                    เรวัตร     พรหมเพ็ญ  (2537). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
                    นิตยา     ประพฤติกิจ (2536).การพัฒนาเด็กปฐมวัย

3.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
- แนวคิดของทฤษฏีคณิตศาสตร์ เด็กต้องมีการแก้ปัญหา แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบระเบียบโดยที่เน้นผู้เรียนเป็นหลักให้มากที่สุด
อ้างอิงจาก : นิตยา  ประพฤติกิจ (2536).การพัฒนาเด็กปฐมวัย

4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
   1.)การนับ                                        7.)รูปทรงและเนื้อที่
   2.)ตัวเลข                                        8.)การวัด
   3.)การจับคู่                                      9.)เซต
   4.)การจัดประเภท                          10.)เศษส่วน
   5.)การเปรียบเทียบ                        11.)การทำตามแบบหรือลวดลาย
   6.)การจัดลำดับ                             12.)การอนุรักษ์
และกิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก เป็นสิ่งที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
อ้างอิงจาก : เยาวพา  เดชะคุปต์.กิจกรรมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
                    นิตยา     ประพฤติกิจ.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

5.หลักการสอนของคณิตศาสตร์
    1.)ควรให้นักเรียนได้ปฏิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
    2.)ควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน
    3.)ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
    4.)เชื่อมโยงระหว่างสื่อกับความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
    5.)การจบชั่วโมงเรียนด้วยความประทับใจ
อ้างอิงจาก : Max  sobel (2544).ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์. ผู้แปล ฉวีวรรณ เศวตมาตย์
                    เยาวภา  เดชะคุปต์ (2545). การศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
                    นิตยา    ประพฤติกิจ(2536).การพัฒนาเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

วันนี้อาจารย์ให้ลิงค์บล๊อคก่อนเริ่มเรียน เมื่อเริ่มเรียนอาจารย์ได้ให้เขียนคำว่า คณิตศาสตร์ ประสบการณ์ และปฐมวัย เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมอธิบายถึงพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยเด็กอายุ 2-4 ปี จะสามารถใช้ภาษาได้ดียังใช้เหตุและผลไม่ค่อยได้ และเด็กอายุ 4-6 ปี จะสามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้นและใช้เหตุและผลได้ดีแต่ไม่ดีมาก และอาจารย์ยังให้ยกตัวอย่างสิ่งรอบตัวที่อยู่ในห้องเรียนว่าสิ่งของชนิดไหนสามารถสอนในเรื่องคณิตศาสตร์ได้ เช่น แอร์ บอกถึงอุณหภูมิ  นาฬิกา บอกถึงเวลา ลำโพงบอกถึง ระดับเสียง ปากกาไวท์บอร์ด บอกถึงรูปทรง เป็นต้น รวมถึงยังบอกว่าคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่คนเรานั้นใช้ในชีวิตประจำวันทุกคน
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ไปสำรวจที่สำนักวิทยบริการว่ามีหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อะไรบ้าง ให้นำมาศึกษา 1 เล่ม
2.หาผู้ให้ความหมายคณิตศาสตร์มา 1 คน
3.หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
4.หาทฤษฎีที่ใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มา 1 ทฤษฎี
5.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
6.หลักการสอนคณิตศาสตร์
 ให้เขียนใส่ลงในกระดาษที่แจกให้ส่งวันศุกร์ ที่ 16/11/2555




วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 1

วันนี้อาจารย์ได้วางข้อตกลงก่อนเริ่มเรียนในเรื่องของการทำบล๊อคและเวลาของการส่งบล๊อคเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย อีกทั้งอาจารย์ยังพูดถึงการแต่งกายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่ออาจารย์ได้อธิบายข้อตกลงเสร็จก็ได้เข้าถึงเนื้อหาขององค์ประกอบในรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าประกอบด้วย การจัดประสบการณ์  คณิตศาสตร์ และเด็กปฐมวัย หลังจากนี้อาจารย์ก็ได้ให้เขียนถามลงในกระดาษโดยคำตอบให้เขียนตามความเข้าใจของตนเอง มี 2 คำถาม คือ
1.เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร ?
2.เขียนความคาดหวังในการเรียนรายวิชานี้ว่าจะได้ความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร ?
ท้ายคาบอาจารย์ได้ฝากการโพสต์บล๊อคว่าทำให้เรียบร้อยและอาจารย์จะตรวจในวันถัดไป